วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

                  การก่อสร้าง ต้องวางรากฐานให้มั่นคง แล้วค่อย ๆ ก้าวไป ขั้นที่ ๒แล้วสำรวจดูว่าขั้นที่๒ นั้นมั่นคงหรือยัง ถ้ามั่นคงแล้วค่อยก้าวไปขั้นที่ ๓ไปเรื่อย ๆจนกว่าจะไปถึงขั้นอันสูงสุด เมื่อสำเร็จแล้ว
                  ต้องมาดูรากฐานขั้นที่ ๑ ใหม่ให้สิ่งนั้นมั่งคงขึ้น แล้วต่อ ๆไป จนสำเร็จเป็นครั้งที่ ๒
                 เป็นการเปรียบเทียบในวิสุทธิ ๗ ขั้นแรก ต้องรักษาศีลให้มั่นคง เป็นต้น อยากรู้ต้องไปอ่านใน วิสุทธิมรรค ครับผม 
อดีตคิดไปก็เท่านั้น รู้ปัจจุบันทันทั่วถึงตัวเรา คิดดี ทำดี อย่ามัวเมา เฝ้าในสิ่งที่ดีเป็นอารมณ์

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การบริหารจิต+อนุสติ10

การบริหารจิต
          การบริหารจิตด้วยการฝึกสมาธิ เป็นการให้ เป็นการให้อาหารที่มีคุณภาพแก่จิตใจอย่างหนึ่งจิตใจที่ได้รับการบำรุงรักษาด้วยสมาธิ จะมีความบริสุทธิ์ สะอาด มีคุณธรรม เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการทำงาน คือ จะอ่านฟังหรือศึกษาเรื่องใด ย่อมเกิดความรู้ความเข้าใจและความชำนาญได้ไม่ยาก ดังพุทธวจนะที่ว่า จิตที่มีสมาธิ ย่อมจะเกื้อกูลแก่การเจริญปัญญาเป็นอย่างดี
ความหมายของการบริหารจิต 
          การบริหารจิต  คือ การฝึกพัฒนาจิตโดยมีสมาธิเป็นเป้าหมาย เพื่อช่วยให้ให้จิตใจมีความมั่นคงทางอารมณ์และสามารถพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้อย่างถูกต้องชัดเจน
ประโยชน์ของสมาธิ
ประโยชน์ของสมาธิอาจกล่าวเป็น 4 ระดับ ลดหลั่นลงไป คือ
     1.  ประโยชน์ของสมาธิที่เป็นจุดหมายทางศาสนา แบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ
               1.1  ประโยชน์ระดับต้น สามารถระงับกิเลสได้เป็นครั้งคราว คือ ผู้ที่ฝึกจิตจนได้สมาธิระดับฌานแล้ว สามารถใช้กำลังสมาธินั้น กด ข่ม ระงับกิเลสได้ตลอดเวลาที่อยู่ในสมาธินั้น กิเลสที่มีในใจจะไม่ขึ้นมาสำแดงฤทธิ์เดช ประดุจหญ้าที่ถูกก้อนศิลาใหญ่ทับไว้ ฉะนั้นความสามารถระดับนี้เรียกว่า “เจโตวิมุตติ” (ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยพลังจิต) คือ “วิกขัมภนวิมุตตี” (ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการกดข่มไว้) ยังมิใช่ประโยชน์ที่สูงสุดในทางพระพุทธศาสนา แต่คนที่ปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ ก็นับว่าใกล้จุดหมายพอสมควรแล้ว
               1.2  ประโยชน์ระดับสูงสุด คือ การเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาพิจารณาสภาวธรรมตามเป็นจริง เรียกอีกนัยหนึ่งว่า ใช้สมาธิระดับฌานนั้นเป็นบาทฐานของวิปัสสนา พิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายจนเห็นแจ้งไตรลักษณ์ กำจัดกิเลสอาสวะให้หมดไปจากจิตสันดานในที่สุด
      2.  ประโยชน์ทางด้านอภิญญา ผู้ฝึกฝนจิตจนได้สมาธิระดับฌานสมาบัติแล้ว จะมีความสามารถพิเศษเหนือวิสัยสามัญชน (อภิญญา) คือ ได้ฤทธิ์ชั้นโลกีย์ต่าง ๆ เช่น มีหูทิพย์ ตาทิพย์ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ทายใจคนอื่นได้ สามารถระลึกชาติได้
     3.  ประโยชน์ในด้านพัฒนาบุคลิกภาพ บุคคลที่ฝึกจิตให้เป็นสมาธิประจำ ย่อมมีบุคลิกภาพที่พึงปรารถนาหลายประการ เช่น
         3.1  มีบุคลิกเข้มแข็ง หนักแน่นมั่นคง
         3.2  มีความสงบเยือกเย็น ไม่ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด
         3.3  มีความสุภาพนิ่มนวล ท่าทีมีเมตตากรุณา
         3.4  สดชื่นผ่องใส ยิ้มแย้ม เบิกบาน
         3.5  งามสง่า องอาจ น่าเกรงขาม
         3.6  มีความมั่นคงทางอารมณ์
         3.7  กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า ไม่เซื่องซึม
         3.8  มีจิตใจพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ต่าง ๆ และสามารถแก้ไขสถานการณ์คับขันได้
         3.9  มองอะไรทะลุปรุโปร่ง รับรู้อะไรฉับไว รู้จักตนเองและผู้อื่นตามความเป็นจริง
     4.  ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
          4.1  ทำให้จิตใจสบายหายเครียด มีความสุขผ่องใส
         4.2  หายจากการวิตกหวาดกลัว หายกระวนกระวาย
         4.3  นอนหลับง่าย หลับสนิทไม่ฝันร้าน สั่งตัวเองได้ เช่น กำหนดให้หลับ ให้ตื่นตามเวลาที่ต้องการ
         4.4  มีความว่องไว้กระฉับกระเฉง รู้จักเลือกตัดสินใจเหมาะแก่สถานการณ์
         4.5  มีความเพียรพยายามแน่วแน่ใจจุดหมาย มีความใฝ่สัมฤทธิ์สูง
         4.6  มีสติปชัญญะสูงรู้เท่าทันปรากฏการณ์และยับยั้งชั่งใจดีเยี่ยม
         4.7  มีประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น เรียนหนังสือ การทำกิจกรรมทุกอย่าง
         4.8  ส่งเสริมความจำ และสมรรถนะทางมันสมอง
         4.9  เกื้อกูลแก่สุขภาพทางกาย เช่น ชะลอความแก่หรืออ่อนกว่าวัย
         4.10  รักษาโรคบางอย่างได้ เช่น โรคท้องผูกเรื้อรัง โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิต โรคหืด โรคกายจิตอื่น ๆ
          การริหารจิต โดยใช้ อนุสสติ 10 คือการพิจารณาอารมณ์ที่ควรระลึกถึงอยู่เนือง ๆ 10 ประการ คือ
          1 พุทธานุสสติ  (การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า)
          2 ธัมมานุสติ (การระลึกถึงคุณของพระธรรม)
          3. สังฆานุสติ (การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์)
          4. สีลานุสติ (การระลึกถึงศีลของตนที่บริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย)
          5. จาคานุสติ (การระลึกถึงทานที่ได้บริจาคและเสียสละเผื่อแผ่ที่มีในตน)
          6. เทวตานุสติ (การระลึกถึงเทวดาและคุณธรรมที่ทำให้คนเป็นเทวดาตามที่มีอยู่ในตน)
          7. มรณสติ  (การระลึกถึงความตายว่าเป็นสิ่งธรรมดา แล้วกำหนดสติไม่ประมาทในการ ดำรงชีวิต)
          8. กายคตาสติ  (การระลึกถึงกายให้เห็นว่าไม่สะอาด ไม่สวยงาม เพื่อไม่ให้เกิดความลุ่ม หลงในรูปกาย)
         9. อานาปานสติสติ (การมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออก)
        10. อุปสมานุสติ (การระลึกถึงธรรมอันเป็นที่สงบ คือ พระนิพพาน อันเป็นที่ระงับกิเลสและความทุกข์